วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Control Panel windowes xp

Control Panel
1. การเข้าโปรแกรม ให้คลิกปุ่ม Start
2. คลิก Control Panel
หน้าตา Control Panel ใน Windows XP
หน้าจอ Control Panel ใน Windows XP สามารถแสดงได้ 2 แบบ คือ
1. หน้าจอแบบ Classic View
2. หน้าจอแบบ Category View
3. คลิกที่ Switch to .... เพื่อสลับหน้าจอ
รายละเอียดไอคอนใน Control Panel
1. Accessibility Options ปรับแต่งการใช้งานสำหรับผู้มีปัญหาด้านร่างกาย
2. Add Hardware ติดตั้งไดรเวอร์ให้กับอุปกรณ์บางชิ้นที่มีปัญหาติดตั้งไม่ได้
3. Add or Remove Programs ติดตั้งหรือถอดโปรแกรมออกจากเครื่อง
4. Administrative Tools การปรับแต่งขั้นสูงสำหรับผู้ดูแลระบบ
5. Automatic Updates โปรแกรมช่วยอัพเดทโปรแกรม Window XP
6. Clear Type Tuning ปรับแต่งการแสดงตัวหนังสือที่ช่วยให้มองเห็นชัดสำหรับการแสดงผล บนจอ LCD, Pocket PC เพื่อความง่ายในการอ่านข้อความ
7. Date and Time ปรับแต่งเกี่ยวกับวันที่และเวลาถ้าไม่ตรง
8. Display ปรับแต่งหน้าตาของ Windows
9. Folder Options ปรับแต่งเกี่ยวกับโฟลเดอร์
10. Fonts ติดตั้งหรือลบแบบตัวหนังสือ
11. Mouse ปรับแต่งการทำงานของเมาส์
12. Printer and Faxes ติดตั้ง ลบ ปรับแต่งเครื่องพิมพ์ และโปรแกรมรับส่งแฟ็กซ์
13. Network Connections กำหนดเกี่ยวกับระบบเน็ตเวิร์ค สร้างระบบเน็ตเวิร์ค
14. Phone and Modem ปรับแต่งเกี่ยวกับการโทรศัพท์ในคอมพิวเตอร์ผ่านโมเด็ม ติดตั้งและ กำหนดการทำงานของโมเด็ม
15. Power Options กำหนดเกี่ยวกับระบบใช้พลังงานไฟฟ้าในคอมพิวเตอร์
16. Regional and Language ปรับแต่งหน่วยวัด เงินตรา รูปแบบของวันที่และเวลา
17. Scanner and Cameras ติดตั้งไดรเวอร์สำหรับแสกนเนอร์และกล้องดิจิตอล
18. Scheduled Tasks โปรแกรมกำหนดตารางเวลาทำงาน เช่น ให้จัดเรียงข้อมูลในวันพุธ
19. CMI Audio Config กำหนดเกี่ยวกับการ์ดเสียง เป็นยี่ห้อเฉพาะเครื่องของผู้เขียน
20. Sounds and Audio Devices กำหนดเกี่ยวกับเสียงให้กับการคลิกเมาส์ที่ส่วนต่างๆ ต้องการ ให้มีเสียงแบบใด และกำหนดเกี่ยวกับการ์ดเสียงที่ใช้ในเครื่อง
21. Speech กำหนดการแปลงข้อความเป็นเสียง
22. Game Controllers ติดตั้งจอยสติ๊ก หรืออุปกรณ์สำหรับเล่นเกม
23. System ปรับแต่ง ข้อมูลเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ ติดตั้ง ลบไดรเวอร์ของอุปกรณ์ต่างๆ กำหนดเกี่ยวกับหน่วยความจำในเครื่อง
24. Taskbar and Start Menu ปรับแต่งทาสก์บาร์และสตาร์ตเมนู
25. User Accounts เพิ่ม ลบ กำหนดเกี่ยวกับรายชื่อผู้ใช้เครื่อง
26. Internet Options ปรับแต่งเกี่ยวกับการใช้งานอินเตอร์เน็ต
27. Keyboard ปรับแต่งเกี่ยวกับแป้นพิมพ์

อุปกรณ์ที่อยู่ภายในเครื่อง ซึ่งอาจจะเป็นโมเด็ม การ์ดเสียง ฯลฯ สามารถดูรายละเอียดหรือดูว่า ในเครื่องนั้นๆ มีอุปกรณ์อะไรบ้าง ยี่ห้อและรุ่นไหน
1. ดับเบิ้ลคลิกไอคอน System
2. จะปรากฏกรอบข้อความ System Properties
3. ให้คลิกแท็ป Hardware คลิกปุ่ม Device Manager
4. คลิกปุ่ม บวก หน้าหัวข้อ ชื่ออุปกรณ์ต่างๆ เช่น Display adapters ก็จะปรากฏรายละเอียด เกี่ยวกับการ์ดจอที่ใช้อยู่ ในตัวอย่างเป็นของ NVIDIA GeForce4 MX 4000
5. ถ้าคลิกปุ่ม ลบ ด้านหน้า จะเป็นการซ่อนรายละเอียดไว้
6. แต่ถ้าดับเบิ้ลคลิกที่ชื่ออุปกรณ์นั้นๆ ก็จะปรากฏกรอบข้อความแสดงข้อมูลเพิ่มเติม
7. รายละเอียดบางส่วนเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เครื่องนี้
- ติดตั้งฮาร์ดดิสก์ 2 ตัว ยี่ห้อ Hitachi และ Maxtor
- การ์ดจอยี่ห้อ NVIDIA รุ่น GeForce4 MX 4000
- DVD Rom Drive เป็นยี่ห้อ LITE-ON
- ใช้กล้องเว็บแคม ยี่ห้อ D-Link ความละเอียดระดับ VGA
- จอภาพเป็นยี่ห้อ IBM รุ่น 6546
- VIA Rhine II.. เป็นการ์ดแลนแบบออนบอร์ด
- C-Media AC97 เป็นไดรเวอร์ของการ์ดเสียง

Fonts หรือรูปแบบของตัวอักษร สามารถเพิ่มหรือลบได้ โดยเฉพาะท่านใดที่ทำงานด้านศิลปะ ออกแบบ อาจหาตัวหนังสือหรือ Fonts สวยๆ มาติดตั้งลงในเครื่อง แต่ถ้ามี แบบตัวหนังสือในเครื่องมาก เกินไป ก็ส่งผลให้เครื่องทำงานช้าได้เหมือนกันนอกจากนี้ การใช้โปรแกรมจากต่างประเทศบางตัว เช่น Photoshop เวอร์ชัน 5-6-7 และ CS จะมีปัญหากับภาษาไทย ไม่สามารถพิมพ์ภาษาไทยได้ จึงต้องติดตั้ง ฟอนต์ (Font) หรือแบบตัวหนังสือที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อใช้กับโปรแกรมเหล่านี้โดยเฉพาะ

รายชื่อแบบตัวหนังสืออาจแบ่งเป็น 2 กลุ่ม
1. แบบตัวหนังสือที่สามารถใช้งานกับภาษาไทยได้ เช่น ที่ลงท้ายด้วย UPC ส่วน
2. แบบอื่นๆ ที่เหลือจะใช้กับภาษาอังกฤษ พิมพ์ข้อความภาษาไทยไม่ได้
การติดตั้งแบบตัวหนังสือ
1. เมื่อดับเบิ้ลคลิกไอคอน Fonts ใน Control Panel ก็จะพบกับรายชื่อ Fonts มากมายหลายแบบ เช่น AngsanaUPC, Arial Bold ฯลฯ
2. ถ้าต้องการติดตั้ง Fonts เพิ่มเติมให้คลิกเมนู File>>Install New Font
3. ในกรอบข้อความที่ปรากฏขึ้นมาให้คลิกเลือกไดรว์ เช่นไดรว์ D: คลิกเลือกโฟลเดอร์ที่ได้เก็บไฟล์ Fonts เอาไว้
4. รายชื่อ Fonts จะปรากฏเข้ามาในช่อง List of Fonts ด้านบน
5. การเลือกแบบตัวหนังสือ ถ้าต้องการทั้งหมด ให้คลิกปุ่ม Select All แล้วคลิกปุ่ม OK ถ้าต้อง การเพียงบางตัวสามารถเลือกโดยใช้ปุ่ม Ctrl หรือปุ่ม Shift ช่วยในการเลือก เสร็จแล้วคลิกปุ่ม OK
6. แบบตัวหนังสือก็จะถูกติดตั้งลงเครื่อง มีรายชื่อแบบตัวหนังสือเพิ่มเข้ามา
การลบแบบตัวหนังสือ
1. ให้เลือกชื่อ Fonts ที่ต้องการ อาจเลือกโดยลากเมาส์เป็นเส้นประครอบกลุ่มชื่อ Fonts ที่ต้องการ หรือคลิกเลือกตัวแรกกดปุ่ม Ctrl ค้างไว้ แล้วคลิกเลือกฟอนต์ที่ต้องการ ทั้งหมดก็ได้
2. คลิกเมนู File>>Delete

ถ้ามีปัญหากับภาษาไทย ไม่สามารถใช้ภาษาไทยได้ เพราะในขั้นตอนการติดตั้ง ไม่ได้เลือกติดตั้ง ภาษาไทย ก็สามารถจัดการภายหลังได้
1. ดับเบิ้ลคลิกไอคอน Regional and Language Option
2. คลิกแท็ป Language
3. คลิกติ๊กถูก Install files for....
4. หรือคลิกเลือก Install files for East Asian Language ติดตั้งแบบตัวหนังสือสำหรับใช้งาน ภาษาอื่นๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี
5. คลิกปุ่ม OK
การกำหนดเกี่ยวกับแป้นพิมพ์ภาษาไทย
1. เปิดกรอบข้อความ Regional and Language Options อีกครั้ง คลิกแท็ป Language และ คลิกปุ่ม Details ตามลำดับ
2. ในช่อง Installed Services ถ้ายังไม่มีคีย์บอร์ดภาษาไทย ให้คลิกปุ่ม Add จากตัวอย่างมีอยู่แล้ว คือ Thai
3. คลิกเลือก Thai และคีย์บอร์ดแบบ Thai Kedmanee แล้วคลิกปุ่ม OK
4. คลิกปุ่ม Apply
5. คลิกปุ่ม Key Settings กำหนดเกี่ยวกับการสลับภาษา
6. คลิกตัวเลือก Switch between input language แล้วคลิกปุ่ม Change Key Sequence
7. คลิกเลือก Grave Accent ซึ่งเป็นปุ่มที่ใช้สลับภาษาไทย อังกฤษที่ใช้กันเป็นมาตรฐาน
8. คลิกปุ่ม OK เพื่อออก (จากตัวอย่างเป็นค่าที่ดีอยู่แล้ว ไม่ต้องคลิกเลือกแต่อย่างใด)

ยูสเซอร์ (User) เป็นคำศัพท์เรียกผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะคนเล่นเกม พิมพ์งาน ท่อง อินเตอร์เน็ต ฯลฯ ก็เรียกว่าผู้ใช้หรือยูสเซอร์ คอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่อง อาจเป็น ที่บ้านหรือที่ทำงานย่อมต้อง มีผู้ใช้เครื่องหลายคน เพื่อนร่วมงาน พ่อ แม่ อาจเอางานมาทำที่บ้าน พี่พิมพ์รายงานหรือหาข้อมูลใน อินเตอร์เน็ต น้องเล่นเกม ฯลฯ
อะไรจะเกิดขึ้น เมื่อแต่ละคนพยายามปรับแต่ง หน้าจอบ้าง ฯลฯ ตามแต่ความชอบของตัวเอง คงจะดูวุ่นวายไม่น้อย แต่ Windows ได้ถูกออกแบบให้รองรับการใช้งานใน ลักษณะนี้อยู่แล้ว สามารถจัดสรร แบ่งการใช้งานให้กับผู้ใช้แต่ละคนได้ โดยเฉพาะถ้าติดตั้งโปรแกรม Windows XP โดยเลือกระบบไฟล์แบบ NTFS ก็จะสามารถกำหนดการ เข้ารหัสให้กับโฟลเดอร์ที่เก็บข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคน ทำให้ไม่มีใครไปวุ่นวาย กับข้อมูลส่วนตัว เพราะข้อมูลถูกเข้ารหัสไว้ ไม่สามารถดูได้
1. จากภาพตัวอย่างในเครื่องนี้ ได้สร้างไว้ 3 รายชื่อ ดังภาพตัวอย่าง
2. เมื่อเปิดเครื่องขึ้นมาจะปรากฏหน้าจอให้ล็อกอินเข้าระบบ ใครจะใช้เครื่องก็คลิกที่รายชื่อผู้ใช้ ของตัวเอง
3. เมื่อเข้าโปรแกรม Windows XP แล้ว ก็จะปรากฏหน้าจอที่ตัวเองได้ตั้งเอาไว้
การสร้างบัญชีรายชื่อผู้ใช้ใน Windows XP
1. ดับเบิ้ลคลิกไอคอน User Accounts
2. ในหน้าจอ Users Accounts ที่ปรากฏขึ้นมา ให้คลิกที่ Create a new account
3. ในช่อง Type a name for the new account ให้พิมพ์ชื่อผู้ใช้ เช่น tong เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Next
4. โปรแกรมจะให้เลือกลักษณะของ User ให้คลิกเลือก Limited จำกัดการใช้งาน
4.1 Computer Administrator เป็นผู้ใช้ที่สามารถจัดการกับเครื่องได้ทุกอย่าง การติดตั้ง โปรแกรม ลบไฟล์ จัดการกับรายชื่อผู้ใช้ ผู้ทำหน้าที่นี้อาจเป็นพ่อแม่ เจ้าของบริษัท ผู้ดูระบบคอมพิวเตอร์ ของบริษัท
4.2 Limited เป็นผู้ใช้ที่ถูกจำกัดสิทธิ สามารถทำงานได้เพียงบางอย่างเท่านั้น ผู้ใช้ลักษณะนี้อาจ เป็นพนักงานบริษัท นักเรียน
5. เสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม Create Account
6. เมื่อสร้างเสร็จแล้วจะปรากฏรายชื่อผู้ใช้เครื่องชื่อ tong เพิ่มเข้ามา ตอนนี้ tong จะมีสถานะ เป็น Admin ด้วย
7. สร้างยูสเซอร์เพิ่มตามจำนวนคนที่ต้องการ โดยคลิกปุ่ม Create a new account
8. กำหนดให้เป็นผู้ใช้แบบ Limited ให้ tong เป็น Admin คนเดียวก็พอ แล้วนำรายชื่อเหล่านี้ ไปแจกจ่ายให้สมาชิกที่ใช้งานเครื่องนั้นๆ
9. รายชื่อที่เป็น Administrator จะเป็นผู้มีอำนาจมากที่สุดในเครื่องนั้นๆ สามารถลบหรือแก้ไข ข้อมูลผู้ใช้คนอื่นได้ จากตัวอย่างจะมี 2 รายชื่อคือ Administrator และ Tong ในการใช้งานถ้าคุณเป็น เจ้าของเครื่อง เป็นผู้ดูแลเครื่อง ก็ให้ใช้ 2 ชื่อนี้ นำชื่อผู้ใช้ที่เป็นแบบ Limited Account ไปแจกจ่ายสมาชิก
10. ส่วน Guest เป็นเหมือนแขก หรือใครก็ตามที่อนุญาตให้ใช้งานเครื่องได้เพียงบางส่วนเท่านั้น น้อยกว่าผู้ใช้แบบLimited Account
Tips
ในการสร้างรายชื่อผู้ใช้ คอมพิวเตอร์ 1 เครื่องอาจกำหนดให้มีผู้ใช้ที่เป็น Computer Administrator เพียง 1-2 ชื่อก็พอ เผื่อสำรองกรณีลืมรหัสผ่าน ที่เหลือให้เป็นผู้ใช้ แบบLimited
แก้ไขรายละเอียดเกี่ยวกับรายชื่อผู้ใช้
ในหน้าจอ Users Accounts จะแบ่งเป็น 2 ส่วน Pick a task เป็นส่วนให้เลือกการทำงาน or pick an account to change เป็นรายชื่อผู้ใช้ ซึ่งสามารถแก้ไขข้อมูลบางอย่าง เกี่ยวกับผู้ใช้แต่ละชื่อได้
เรียกใช้งานคำสั่งแก้ไขรายชื่อ
1. คลิกรายชื่อผู้ใช้ที่ต้องการแก้ไข เช่น James
2. จะปรากฏหน้าจอใหม่ โดยมีตัวเลือกให้ทำการแก้ไขราย ละเอียดต่างๆ เช่น แก้ไขชื่อ รหัสผ่าน
- Change the name เป็นตัวเลือกถ้าต้องการเปลี่ยนชื่อ เช่น เปลี่ยนจาก Tong เป็นชื่ออื่น
- Create a password เป็นตัวเลือกให้สร้างรหัสผ่าน เมื่อคลิกรายชื่อผู้ใช้ชื่อ Dang ก็ต้องพิมพ์ รหัสผ่านด้วย จึงจะเข้าไปใช้งาน Windows XP ได้
- Change the picture เป็นตัวเลือกให้เปลี่ยนรูปแทนรายชื่อผู้ใช้ ถ้ามีรูปของตัวเองอยู่ในเครื่อง ก็สามารถนำรูปมาแสดงบนหน้าจอได้
- Change the account type เป็นตัวเลือกให้เปลี่ยนลักษณะของบัญชีผู้ใช้ระหว่าง Computer Administrator และ Limited
- Delete the account ลบชื่อผู้ใช้นั้นๆ ออกไป
ในการแก้ไข อาจแก้ไขรายละเอียด เพียงรหัสผ่าน (Password) และรูปก็พอแล้ว
การสร้างรหัสผ่านให้กับผู้ใช้แต่ละคน
จะเป็นการสร้างรหัสผ่านให้กับผู้ใช้แต่ละคน เราต้องจดรหัสผ่านไว้ด้วย กันลืม
1. คลิกเลือกชื่อผู้ใช้
2. ให้คลิกเลือก Create a password
3. พิมพ์รหัสผ่านในช่อง Type a new password และ Type the new password again to confirm พิมพ์เหมือนกันทั้งสองช่อง
4. ช่องที่ 3 พิมพ์ข้อความอะไรก็ได้ ที่เมื่อได้เห็นข้อความนี้จะช่วยให้นึกออกว่า ตั้งรหัสผ่านไว้ว่า อย่างไร
5. คลิกปุ่ม Create Password
การเปลี่ยนภาพแทนตัวผู้ใช้
ปกติอาจให้ผู้ใช้แต่ละคน เปลี่ยนเอง หรือเราจะเปลี่ยนให้เลยก็ได้
1. คลิกเลือกชื่อผู้ใช้
2. ให้คลิก Change the picture
3. คลิกเลือกภาพตามต้องการ
4. หรือคลิกปุ่ม Browse for ... เพื่อไปเลือกภาพอื่นๆ
5. คลิกเลือกภาพแล้วคลิกปุ่ม Open
6. คลิกปุ่ม Back กลับหน้าจอหลัก
กำหนดให้แสดงหน้าจอให้เลือกชื่อผู้ใช้เมื่อเปิดเครื่อง
เป็นการกำหนดให้ Windows แสดงรายชื่อผู้ใช้ให้คลิกเลือก
1. ใน Control Panel ดับเบิ้ลคลิกไอคอน User Account 2
2. คลิกติ๊กถูก User must enter a user name and password to use this computer
3. คลิกปุ่ม OK
4. ในกรณีที่ต้องการยกเลิกการใช้รายชื่อผู้ใช้ ให้คลิกเลือกรายชื่อด้านล่าง แล้วลบออกให้หมด เหลือไว้เฉพาะ Adimistator และ Guest ซึ่งเป็นตัวหลัก
หน้าจอให้เลือกบัญชีรายชื่อผู้ใช้ขณะบูทเครื่อง
1. เมื่อเปิดเครื่องก่อนเข้าสู่หน้าจอ Windows XP จะปรากฏหน้าจอที่แสดงรายชื่อผู้ใช้ทั้งหมด เพื่อให้ผู้ใช้คลิกที่รายชื่อของตนเองเพื่อเข้าไปใช้งานเครื่อง
2. ในตัวอย่างนี้มี 3 รายชื่อ
3. ส่วนปุ่ม Turn off computer ไว้สำหรับคลิกเพื่อปิดเครื่อง
การสลับเปลี่ยนตัวผู้ใช้ขณะทำงาน
ในขณะใช้งานคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นๆ เมื่อเราไม่ต้องการใช้งานแล้วก็สามารถล็อกออฟออกจาก ระบบได้ คนอื่นก็จะใช้งานข้อมูลเราไม่ได้ แต่เครื่องก็ยังเปิดอยู่ คนอื่นจะใช้ งาน ก็ต้องล็อกอินเข้าในขื่อ ของตนเอง หรือขณะที่เรากำลังใช้งานอยู่นั้น เกิดมีใครต้องการใช้เครื่องด่วน ก็สามารถสลับหรือสวิทซ์ให้ ใช้งานได้ โดยที่เราไม่ต้องปิด โปรแกรมที่เรากำลังใช้งานอยู่ เมื่อสวิทซ์กลับมา ก็ใช้งานได้เหมือนเดิม
1. คลิกปุ่ม Start
2. คลิก Log Off
3. คลิก Log Off เพื่อออกจากระบบ
4. คลิก Switch User เพื่อสลับให้คนอื่นใช้งานเครื่องกรณีต้องการใช้เครื่องแบบเร่งด่วน
5. คลิกเลือกรายชื่อผู้ใช้ที่ต้องการใช้งาน
Tips
การจัดการกับรายชื่อผู้ใช้ที่ได้ผลต้องใช้ระบบไฟล์แบบ NTFS ไม่ใช้ FAT32
โฟลเดอร์เก็บข้อมูลผู้ใช้แต่ละคน
นอกจากผู้ใช้แต่ละคนจะมีชื่อและรหัสผ่านให้ใช้งานเฉพาะของตนเองแล้ว ก็ยังจะมีโฟลเดอร์ลับ เฉพาะของตนเองด้วย ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในโฟลเดอร์ที่คนอื่นไม่สามารถเข้า มาดูได้ นอกจากผู้ที่มีอำนาจ สูงสุดก็คือ Administrator
1. คลิกที่ Documents and Settings
2. จะพบโฟลเดอร์ที่มีการสร้างไว้ตามชื่อของผู้ใช้นั้นๆ เช่น tong เก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ชื่อ tong แต่ผู้ใช้คนอื่นๆ ในเครื่องนี้ tong จะมองไม่เห็น โปรแกรมจะไม่ แสดงออกมา ไปก้าวก่ายข้อมูลคน อื่นไม่ได้เลย
3. แต่ถ้าคอมพิวเตอร์มีปัญหาต้องลงโปรแกรมใหม่ อย่าลืมก็อปปี้ข้อมูลเก็บไว้ให้ครบทุกคน

การยกเลิกการใช้งานรายชื่อ
ไม่ต้องการใช้งานระบบรายชื่ออีกแล้ว ก็ต้องยื่นถอดถอดหรือปฏิวัติแล้วเปลี่ยนระบบใหม่ ไม่ยุ่งยาก ขนาดนั้น
1. ดับเบิ้ลคลิก User Accounts 2
2. คลิกเอาถูกออกหน้า User must enter ...
3. รายชื่อผู้ใช้ เช่น tong, james ...ก่อนจะลบออก ให้จัดการก็อปปี้โฟลเดอร์เก็บข้อมูลแต่ละคน เก็บไว้ก่อน
4. คลิกปุ่ม OK
5. ใส่รหัสผ่านของ Administrator แล้วคลิกปุ่ม OK
6. รีสตาร์ตเครื่องใหม่ด้วยคำสั่ง Turn Off Computer และ Restart

การปรับแต่ง Windows ยังมีอีกมากมายหลายแบบ แต่ก็พึงระวังไว้ว่า อย่าทำโดยไม่มีความรู้ ต้อง ศึกษาส่วนที่ต้องการให้รู้พอสมควรก่อน โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับ ไฟล์ระบบ เพราะจะทำให้โปรแกรม Windows มีปัญหาได้

โปรแกรมหรือแอพลิเคชัน (Application) เป็นโปรแกรมที่ทำงานเฉพาะทาง มีให้เลือกใช้มากมาย แล้วแต่โปรแกรมเมอร์หรือผู้สร้างโปรแกรมจะสร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานด้าน ใด
เมื่อติดตั้งโอเอส Windows เสร็จแล้ว ถ้าคลิกปุ่ม Start จะพบว่ายังไม่มีโปรแกรมใดๆ จะมีก็แต่ โปรแกรม Windows XP และโปรแกรมเสริมเท่านั้น ซึ่งไม่สามารถใช้งานจริงๆ ได้เช่น Paint จะเป็นเพียง โปรแกรมเล็กๆ สำหรับวาดภาพเท่านั้น Wordpad ช่วยพิมพ์เอกสารได้เล็กๆ น้อยๆ เป็นต้น ต้องติดตั้ง โปรแกรมเพิ่มเติมลงไป ซึ่งเรียกว่า Application
1. ยังไม่ได้ติดตั้งโปรแกรมลงไปจึงมีเพียงโปรแกรมเสริมของ Windows XP เท่านั้น
2. ได้ติดตั้งโปรแกรมลงไป จึงมีรายชื่อโปรแกรมจำนวนมาก โปรแกรมในคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง จะไม่เหมือนกัน
ประเภทของโปรแกรม
1. Demo เป็นโปรแกรมให้ทดลองใช้งาน โดยจำกัดการใช้งานเช่น ให้ใช้งานได้ 30 วัน เป็นต้น
2. Shareware เป็นโปรแกรมให้ทดลองใช้งาน อาจไม่จำกัดว่ากี่วันถึงจะหมดอายุการใช้งาน แต่ จะตัดทอนความสามารถบางส่วนออกไป เช่นโปรแกรมวาดภาพ คุณ สามารถวาดภาพใดๆ ก็ได้ แต่บันทึก เก็บไว้ไม่ได้ หรือพิมพ์ลงกระดาษไม่ได้ เป็นต้น
3. Freeware เป็นฟรีโปรแกรมที่สามารถใช้งานได้ โดยไม่ผิดกฏหมาย ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
4. โปรแกรมลิขสิทธิ์ เป็นโปรแกรมเวอร์ชันเต็ม ใช้งานได้ทุกคำสั่ง แต่ต้องซื้ออย่างถูกกฏหมาย

  บทความแนะนำแหล่งค้นหาโปรแกรมมาติดตั้งเพื่อใช้งาน บน Windows XP ซึ่งมีให้เลือกมากมายทั้งฟรีและไม่ฟรี
1. ซอฟท์แวร์ลิขสิทธิ์หรือโปรแกรมต้นฉบับของแท้
โปรแกรมที่ใช้กันส่วนใหญ่ จะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ทั้งนั้น เพราะโปรแกรมตัวจริงหรือซอฟท์แวร์ ลิขสิทธิ์ราคาค่อนข้างแพง ดูได้จากราคาที่ได้คัดลอกมาบางส่วน ตาม กฏหมายจริงๆ แล้ว เมื่อซื้อเครื่อง คอมพิวเตอร์มาใช้งาน เงินที่ได้จ่ายเป็นค่าตัวคอมพิวเตอร์นั้นไม่เกี่ยวกับโปรแกรมในเครื่อง ต้องซื้อแยกต่าง หาก เช่น โปรแกรม Windows XP โปรแกรม Office Word Excel Photoshop ฯลฯ ต้องซื้อแยกกัน ราคาทั้งหมดรวมๆ กันแล้ว แพงกว่าราคาคอมพิวเตอร์เสียอีก เลยเป็นที่มาของการใช้โปรแกรมผิดกฏหมาย เพราะแพงระยับจริงๆ
เมื่อโปรแกรมของแท้ ราคาแสนแพง จึงเกิดแผ่นซีดีก็อปปี้ขึ้นมา รวมหมดทุกโปรแกรมในราคา ถูกเพียง 100-150 บาทเท่านั้น
การนำโปรแกรมไปใช้งานในบริษัทหรือหน่วยงาน ควรเลือกซื้อโปรแกรมที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง ซึ่งมี จำหน่ายหลายที่เช่น www.software.co.th หรือ www.thaiware.com หรือ ตามร้านหนังสือคอมพิวเตอร์
2. ฟรีโปรแกรมจากอินเตอร์เน็ตหรือนิตยสาร
ในนิตยสารคอมพิวเตอร์หลายเล่ม จะแถมแผ่นซีดีรวมฟรีโปรแกรมมาพร้อมหนังสือ หรืออาจไป ดาวน์โหลดจากอินเตอร์เน็ต มีโปรแกรมให้ดาวน์โหลดเป็นแสนๆ โปรแกรม เลยทีเดียว แต่ส่วนใหญ่ยังต้อง พัฒนาอีกมาก เพื่อให้เป็นโปรแกรมที่สามารถใช้งานได้จริงๆ
ตัวอย่างเว็บไซต์ให้ดาวน์โหลดโปรแกรม เช่น
1. www.download.com แหล่งรวมโปรแกรมมีให้เลือกทั้งฟรีและทดลองใช้งาน
2. www.thaiware.com แหล่งรวมโปรแกรมที่สร้างโดยคนไทย ราคาแบบไทยๆ มีให้เลือกทั้งฟรี และไม่ฟรี
การติดตั้งโปรแกรมจะมีไฟล์ที่ทำหน้าที่ช่วยติดตั้ง โดยจะแสดงขั้นตอนการติดตั้ง ผู้ใช้คลิกเลือก การทำงาน ไฟล์ช่วยในการติดตั้งมีหลายแบบ ให้จดจำที่ตัวไอคอน จะ คล้ายกับภาพไอคอนในตัวอย่าง
1. Setup.exe เป็นไฟล์ช่วยติดตั้งโปรแกรมจะมีลักษณะเด่นที่สังเกตได้ง่าย ก็คือตัวไอคอน ซึ่งต้อง จดจำพอสมควรถ้าพบไอคอนประเภทนี้แสดงว่าเป็นไฟล์ช่วยในการติดตั้ง โปรแกรม
2. Install.exe เป็นไฟล์ช่วยในการติดตั้งเหมือน Setup.exe แต่ส่วนใหญ่จะเป็นโฟล์ช่วยติดตั้ง โปรแกรมบน Windows รุ่นเก่าๆ มากกว่า หรือบน DOS ส่วนใหญ่โปรแกรมไม่ เหมาะที่จะติดตั้งลงบน Windows XP ติดตั้งได้ แต่อาจใช้งานไม่ได้
3. ไฟล์อื่นๆ ที่มีนามสกุล .Exe เช่น Foxmail.exe เป็นไฟล์ช่วยในการติดตั้ง
4. โปรแกรมที่ให้ดาวน์โหลดจากอินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่จะมีชื่อเฉพาะตัว แต่ไอคอนคล้ายๆ กัน
5. ไอคอนของโปรแกรมติดตั้งในปัจจุบันเริ่มจะมีไอคอนเฉพาะตัว ค่อนข้างหลากหลาย แต่วิธีการ ติดตั้งก็ปฏิบัติคล้ายกัน เริ่มต้นโดยดับเบิ้ลคลิกที่ชื่อไฟล์
6. ไฟล์ประกอบอื่นๆ ที่ต้องให้ความสนใจ เช่น Readme.txt หรือไฟล์ใดๆ ที่มีนามสกุล .Txt จะเป็นไฟล์ที่อธิบายวิธีติดตั้งโปรแกรมนั้นๆ จึงควรดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์เหล่า นี้ เพื่อเปิดอ่านรายละเอียด ด้านในก่อนติดตั้งโปรแกรม
7. บางไฟล์จะเป็นไฟล์แบบซิพ Zip เช่น rp8-setup.zip ต้องแตกไฟล์ก่อน จึงจะพบไฟล์ช่วยใน การติดตั้ง
8. วิธีที่ง่ายที่สุด ในการทดลองว่าเป็นไฟล์อะไร ให้ดูที่นามสกุล ถ้าเป็น exe ก็ลองดับเบิ้ลคลิกดู ถ้าเข้าสู่ขั้นตอนช่วยในการติดตั้งโปรแกรม ก็แสดงว่าเป็นโปรแกรมที่ต้อง ติดตั้ง
ลักษณะการติดตั้งโปรแกรมใน Windows XP อาจจะปรากฏขั้นตอนต่างๆ มากน้อย ขึ้นอยู่กับขนาดของโปรแกรม ผู้เขียนได้รวบรวมมาไว้ด้วยกัน ขั้นตอนการติดตั้งอาจจะไม่ได้เรียงลำดับตาม นี้แต่ก็ใกล้เคียงกัน
1. เรียกไฟล์ติดตั้ง เป็นการดับเบิ้ลคลิกไฟล์ช่วยในการติดตั้ง เช่น rp8-setup.exe
2. หน้าจอให้เลือกภาษาที่จะติดตั้ง
3. Welcome ...จะปรากฏหน้าจอต่างๆ ให้ทำตามคำแนะนำโดยคลิกปุ่ม Next ปุ่ม Yes หน้าจอแรก ส่วนใหญ่จะเป็นหน้าจอต้อนรับเข้าสู่การติดตั้งโปรแกรม
4. License Agreement หน้าจอแสดงข้อตกลงในการใช้งาน ให้คลิกปุ่ม Yes หรือ Accept
5. Select Components หน้าจอให้เลือกส่วนประกอบของโปรแกรม ซึ่งอาจเป็นโปรแกรมย่อยๆ เสริมการทำงาน ถ้าต้องการก็คลิกติ๊กถูก
6. ข้อความแสดงพื้นที่ที่เหลือทั้งหมดในเครื่องของเรา
7. ข้อความแสดงพื้นที่ที่โปรแกรมต้องการเพื่อเก็บไฟล์ต่างๆ ของตัวโปรแกรม
8. Destination Location หน้าจอให้เลือกโฟลเดอร์ที่จะนำไฟล์ของโปรแกรมไปเก็บไว้ ปกติจะนำ ไปเก็บไว้ใน Program Files โดยจะสร้างโฟลเดอร์ของตัวเองขึ้นมา
9. Product Key บางโปรแกรมจะให้ป้อนรหัสสินค้า ถ้าไม่พิมพ์ลงไป จะติดตั้งไม่ได้

10. Start Installation หลังจากรวบรวมข้อมูลได้ครบตามที่โปรแกรมต้องการแล้ว ก็จะอยุดรอให้ คลิกปุ่ม Next เพื่อเริ่มต้นก็อปปี้ไฟล์ของโปรแกรมลงเครื่อง
11. Finish ขั้นตอนสุดท้าย ส่วนใหญ่จะปรากฏปุ่ม Finish เสร็จสิ้นการติดตั้งโปรแกรม
12. Restart Your System บางโปรแกรมจะเตือนให้รีสตาร์ทเครื่อง ปิดเครื่องแล้วเปิดใหม่เพื่อ ให้โปรแกรมสามารถใช้งานได้
13. หลังจากติดตั้งโปรแกรมเสร็จแล้ว ก็สามารถเรียกใช้งานได้โดยคลิกปุ่ม Start>>All Programs แล้วคลิกชื่อโปรแกรมได้ตามต้องการเช่น FlashPeak SlimBrowser ในการติดตั้ง ขั้นตอนที่ 7 ให้ดูโฟลเดอร์ที่จะนำไปไฟล์ของโปรแกรมไปเก็บไว้ ชื่อโฟลเดอร์จะเป็นชื่อเดียวกันกับชื่อใน All Programs ถ้าไม่สังเกตุบางคนจะหาโปรแกรมไม่พบ หรือบางที ก็จะเป็นไอคอนบนหน้าจอ
ติดตั้งซอฟท์แวร์ลิขสิทธิ์ลงใน Windows XP ซึ่งส่วนใหญ่จะจำหน่ายในรูปแบบแผ่นซีดี การติดตั้งโปรแกรมลงในเครื่องจะมีวิธี การคล้ายๆ กันดังนี้
1. ใส่แผ่นซีดีโปรแกรมเข้าไปในช่องอ่านซีดีรอมไดรว์
2. สักพักจะปรากฏหน้าจอโปรแกรมช่วยในการติดตั้งขึ้นมา
3. คลิกชื่อโปรแกรมที่ต้องการติดตั้งลงเครื่อง
4. คลิกปุ่ม OK
5. คลิกปุ่ม Next

6. คลิกปุ่ม Yes ยอมรับข้อตกลงในการใช้งานโปรแกรม
7. ในขั้นตอนการเลือกโฟลเดอร์เพื่อติดตั้งโปรแกรม คลิกปุ่ม Next
8. จะปรากฏกรอบข้อความถามว่า โฟลเดอร์ที่จะติดตั้งโปรแกรมไม่มี ต้องการสร้างหรือไม่ ให้คลิก ปุ่ม Yes

9. โปรแกรมจะเริ่มก็อปปี้ไฟล์ลงเครื่อง ระหว่างนี้รอสักพัก
10. หลังจากติดตั้งเสร็จแล้วจะปรากฏกรอบข้อความคล้ายตัวอย่าง (Complete) ให้คลิก Finish
11. ส่วนการเรียกใช้งานโปรแกรม ให้คลิกปุ่ม Start>>All Programs
12. คลิกที่โปรแกรมโฟลเดอร์ ให้ดูตัวสุดท้าย หรือไม่ก็พยายามจำชื่อโฟลเดอร์ในข้อที่ 7 จาก ตัวอย่างนี้ก็คือ Codemasters
13. คลิกไอคอนของโปรแกรม เช่น Play Racing Driver 2 Demo เพื่อเข้าโปรแกรม

วิธีการสร้างblogger

วิธีการสมัคร Blogger.com !!! @
เข้า
http://www.blogger.com

ถ้าคุณเคยสมัครอะไรของ google ไว้แล้ว เช่น เคยสมัครเมล์ gmail ก็สามารถใช้ รหัส gmail login ในช่อง ลงชื่อเข้าใช้งานได้เลย
...หรือถ้าไม่เคยสมัครอะไร หรืออยากจะสมัครใหม่ ก็ คลิกคลิกที่ลูกศรสีส้ม สร้างบล็อคของคุณทันที


..ที่อยู่อีเมล ใส่เมล์ของเรานะครับ เมล์อะไรก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็น gmail ครับ ก็ประมาณว่า เมล์ที่เราใช้อยู่นั่นแหละครับ
..ใส่เมล์นั้นอีกครั้งครับ
..กำหนดรหัสผ่าน ตั้งขึ้นมาเลย ไม่ใช่รหัสเมล์นะครับ เป็นรหัสที่เราตั้งขึ้นเพื่อสมัคร blogger ครับ
..ชื่อที่แสดง ก็อย่างที่ในเว็บบอกครับ คือ คือนี่จะแสดงว่าเราเราโพสข้อความอะไรใน blog ของเรา หรือเขียนคอมเม้น แสดงความคิดเห็น blog ของคนอื่น
...รหัสยืนยัน ใส่รหัสสุ่มตามภาพที่ขึ้นมา
...ทำเครื่องหมายช่องสี่เหลี่ยม ยอมรับข้อตกลง ...จากนั้นคลิก ดำเนินการต่อ





ตั้งชื่อเว็บบล็อกเลยครับ ชื่อจะปรากฏที่บนสุดของ blog เช่น ดังภาพ


ที่อยู่บล็อก ก็คือ ชื่อที่อยู่ url ของ blog นั่นเองครับ ตัวอย่างชื่อ blog

สำหรับการ ตรวจสอบความพร้อมคือ ตรวจสอบว่าชื่อที่ตั้งอยู่ ซ้ำหรือมีใครใช้อยู่หรือยัง
ถ้าขึ้น ที่อยู่บล็อกนี้สามารถใช้ได้ ก็สามารถใช้ชื่อนี้ได้ครับ

*** ทั้งชื่อเว็บบล็อก และที่อยู่ บล็อก สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในภายหลังครับ
และ 1 user ที่ใช้ login blogger สามารถ สร้าง blog ได้ 100 blog ครับ
ถ้าอยากสร้างอีก ก็สมัคร account blogger ใหม่ เพิ่มอีกครับ ***

ขั้นตอนต่อไปก็จะมีให้เลือกรูปแบบของ blog
เลือกได้เลยครับ
ชอบแบบไหนก็เลือกไปก่อน สามารถ เปลี่ยนแปลงภายหลังได้


คลิก ดำเนินการต่อ ...

หลังจากนั้น จะมาถึงขั้นตอน เริ่มต้นการเขียนบล็อก เพื่อนำเสนอสิ่งที่เราต้องการนำเสนอ

ทำความเข้าใจ เกี่ยวกับ blog ของ blogger ก่อนครับ
ก่อนเขียน blog เราต้องทำความเข้าใจและวางแผนก่อนครับ


.. blog เราสามารถ เขียนข้อความต่างๆ แทรกภาพ หรือนำเสนอต่างๆได้ ...
การเขียน blog ที่ blogger
- ข้อความล่าสุด จะอยู่ที่หน้า blog
- ข้อความต่างๆที่เขียนไป จะเป็นหัวข้อ รวมอยู่ในคลังบทความของบล็อก ซึ่งคำว่า "คลังบทความของบล็อก" ตัวอย่าง blog เที่ยววังน้ำเขียว
http://wang-namkeaw.blogspot.com ผมแก้คำว่า คลังบทความของบล็อก เป็น "รายละเอียด การท่องเที่ยว อ.วังน้ำเขียว" ซึ่งวิธีแก้เข้าที่หัวข้อ รูปแบบ...องค์ประกอบของหน้า


คลิกเข้าที่แก้ไข เพื่อเข้าไปแก้ไขคำว่า คลังบทความของบล็อก

สำหรับรูปแบบของ blog เที่ยววังน้ำเขียว ทำไมไม่มีใน แม่แบบ ของ blogger จะอธิบายอีกทีครับ ...เกี่ยวกับคลังของบทความ เราควรวางแผนแล้วว่า บทความหรือข้อความต่างๆที่เราจะเขียน blog จะเรียงลงมา เมื่อมีผู้เข้าเยี่ยมชม blog ของเรา ผู้เยี่ยมก็จะเห็นหัวข้อเหล่านั้น และเลือกที่จะคลิกอ่านได้ เป็นผลดีในการนำเสนอ
- สำหรับบทความต่างๆ หรือข้อความต่างๆที่เราจะนำเสนอใน blog ข้อความล่าสุดจะอยู่หน้าแรกครับ หน้าแรกของ blog ควรจะเป็นเหมือนหน้ารับแขก ซึ่งออกแบบ เพื่อดึงดูดให้ผู้เข้าเยี่ยมชมได้สนใจ และอ่าน blog ..แล้วจะทำงัยล่ะ ? เมื่อข้อความต่างๆที่เรา เขียนไป เป็นหัวข้อต่างๆ ข้อความล่าสุดจะอยู่หน้าแรก ถ้าเราออกแบบ หน้าที่ดึงดูดความสนใจ ไว้เป็นหน้าแรกแล้ว ถ้าเรามีข้อความมาเขียน หรือ นำเสนออีก จะทำงัย ให้หน้าที่เราออกแบบไว้ อยู่หน้าแรก
...วิธีการง่ายๆก็คือ แต่ละบทความที่เราเขียนไป สามารถแก้ไขได้ เราเข้าไปแก้ไขบทความนั้น แก้ไขตรงวันที่ หรือจะแก้ไขเวลาด้วยก็ได้ ให้เป็นวันที่ล่าสุด เพื่อให้บทความนั้นยังอยู่หน้าแรกนั่นเอง ...อยู่ล่างๆ นะครับ คลิกที่ตัวเลือกของบทความ แล้วจะมีให้แก้ไขได้

สำหรับ ป้ายกำกับสำหรับบทความนี้: ...หมายถืง คีย์เวิร์ด สำคัญ หรือน่าสนใจ ในบทความหรือข้อความนั้นๆนะครับ เวลาโพสหรือเขียนข้อความไปแล้ว จะขึ้นเป็นข้อความ ป้ายกำกับ อยู่ล่างสุดของบทความ
..ทำความเข้าใจ การโพส หรือการเขียนข้อความ
...เผยแพร่บทความ คือเขียนข้อความเสร็จแล้ว ต้องการโพสใน blog แล้ว
...สำหรับ บันทึกทันที หมายถึง เราเขียนแล้ว แต่ยังไม่อยากนำเสนอลงใน blog เราอาจยังเขียนไม่เสร็จ เราใช้ปุ่มบึนทึกทันที บันทึกไว้ก่อน ยังไม่แสดงใน blog เพื่อไว้จะมาแก้ไขเพิ่มเติมให้สมบูรณ์อีกทีในภายหลังครับ
...กลับมาเรื่องป้ายกำกับ เราสามารถแทรกไว้ใน blog เป็นเมนูได้ เพื่อให้ผู้เยี่ยมชม ได้เลือกอ่านได้ ซึ่งใน blog เที่ยววังน้ำเขียว
http://wang-namkeaw.blogspot.com ป้ายกำกับ รวมอยู่ด้านขวานะครับ ที่เป็นหัวข้อ "คีย์เวิร์ด เด่นๆ ในการเที่ยว วังน้ำเขียว" ซึ่งแต่ก่อน จะเป็นหัวข้อว่า "ป้ายกำกับ" ซึ่งเราสามารถเปลี่ยนแปลงชื่อหัวข้อได้ครับ
...สำหรับการเพิ่ม ส่วนของป้ายกำกับ ทำได้โดย มาที่องค์ประกอบของหน้า

มาที่เพิ่ม Gadget ตรงไหนก็ได้ครับ ปกติจะอยู่ทางด้านซ้าย และล่างสุด

เลือก ป้ายกำกับ แล้วคลิกเครื่องหมาย บวก + เพื่อเลือกรูปแบบ ป้ายกำกับ เข้ามาใน blog
...จะมีป้ายกำกับขึ้นมา เพื่อให้คลิก บันทึก เป็นการแทรกโดยสมบูรณ์ ...หรือจะแก้ไข คำว่า ป้ายกำกับ เลยก็ได้ หรือค่อยกลับมาแก้ไขภายหลังได้ครับ
เมื่อแทรกแล้ว ก็จะมีรูปแบบของป้ายกำกับเข้ามาใน blog



...สำหรับ หัวข้อส่วนต่างๆ สามารถเคลื่อนย้ายได้ เพื่อจัดรูปแบบต่างๆของ blog โดยเอาเม้าส์ คลิกค้าง แล้วลากไปตามส่วนต่างๆ ได้ตามต้องการ

...มาถึงที่ติดค้างไว้ คือรูปแบบของเว็บ เที่ยววังน้ำเขียว ทำไมไม่มีใน แม่แบบของ blogger
การใส่แม่แบบนอกเหนือจากแม่แบบที่มี ใน blogger ทำดังนี้
เข้าไปที่
http://btemplates.com/ จะมีรูปแบบต่างๆให้เลือก ดาวน์โหลด
ไฟล์ที่โหลดมา จะเป็นไฟล์ .zip ให้เรา แตกไฟล์ .zip ออกมา จะได้เป็นไฟล์ .xml
..เราจะเอาไฟล์ .xml เข้า blog ได้อย่างไร ?
,มาที่เมนู รูปแบบ หัวข้อ แก้ไข HTML จะมีให้ Browse เพื่อเลือกไฟล์ .xml ที่เรามีในเครื่อง (ที่เราไปโหลดมา)
แล้วคลิก อัปโหลด เพื่อ โหลดไฟล์ xml เข้าไปใน blog



จะมีบางรายการขึ้นมา ว่าส่วนไหนบ้างของแม่แบบเก่า จะหายไป ก็คลิกที่
ยืนยันและบันทึก เพื่อ เปลี่ยนแปลงให้ blog เรา เป็นแม่แบบใหม่ ที่ต้องการ
...สำหรับข้อความ บทความในการโพสต่างๆ ก็จะยังอยู่นะครับ จะไม่หายไปไหน เป็นการเปลี่ยนแม่แบบเฉยๆ
แต่ส่วนของการตกแต่ง หรือ Gadget ต่างๆที่เราเพิ่มเติมเสริมใน แม่แบบเก่า จะหายไป เราค่อยมาเลือก Gadget เพื่อตกแต่งใหม่ได้ครับ


...มาดูเมนูการตั้งค่า ซะหน่อย
บางคนสงสัยครับว่า blog ที่เขียน บทความต่างๆ ยาวลงมามาก ไม่รู้จะทำงัย มาที่ เมนูการตั้งค่า แล้วมาที่ การจัดรูปแบบ
สามารถเลือกได้ว่า จะแสดง หน้าละกี่บทความครับ
...ในเมนูนี้ ยังสามารถเปลี่ยน ภาษาได้ด้วย เป็นการเปลี่ยนภาษาของเมนูต่างๆ ใน blog ของเราครับ กรณี เราทำ blog ภาษาอังกฤษ แล้วอยากให้เมนูต่างๆเป็นภาษาอังกฤษ

...และอย่าลืม เข้ามาเปลี่ยน โซนเวลา ให้เป็น GMT +7 กรุงเทพด้วยนะครับ จะได้เช็คเวลาได้ กรณีมีใครมาเขียน แสดงความคิดเห็นใน blog เราครับ

ชื่อ blog สามารถ เปลี่ยนแปลงได้ด้วยนะครับ มาที่ เมนู การเผยแพร่ครับ ...มีประโยชน์กรณีที่เรา เขียนและตกแต่ง blog เยอะแล้ว แต่ไม่พอใจชื่อ blog ที่ใช้อยู่ ครับ เราก็สามารถแก้ไขได้ครับ

... 1 user สามารถเขียน blog ได้ 100 blog ...
เห็นหัวบนสุด ในระบบการเขียน blog มั้ยครับ คลิกที่แผงควบคุม จะมีรายการ blog ต่างๆที่เราทำไว้เรียงลงมาให้เห็น
..กรณีที่ยังไม่มี ก็จะมี blog ที่เราพึ่งทำนั่นแหละครับ 1 รายการ ถ้าเราจะทำ blog ใหม่เพิ่มอีก เรา ก็คลิกที่ สร้างบล็อกครับ ก็จะมีให้ตั้งชื่อ เพื่อสร้าง blog เพิ่มครับ ซึ่ง 1 user ของ blogger สามารถ สร้าง blog ได้ 100 blog ถ้าเราอยากสร้างมากกว่านั้น เราก็สมัคร blogger เพิ่มใหม่อีก User ครับ

... จบแล้วครับ ความรู้ในการเขียน blog และการวางแผนในการจัดรูปแบบ blog เพื่อความสวยงาม
...คัดลอกได้ครับ แต่ต้องอ้างอิงว่า เอาความรู้ มาจาก
http://www.makemoney-school.com ด้วยครับ